ธนาคารกรุงเทพ

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประวัติธนาคารกรุงเทพ

ธนาคารกรุงเทพเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2487 มีสำนักงานใหญ่แห่งแรกเป็นอาคารพาณิชย์ 2 คูหาในย่านราชวงศ์ ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ มีพนักงานเริ่มแรกเพียง 23 คน กรรมการผู้จัดการใหญ่ท่านแรกคือ หลวงรอบรู้กิจ ท่านเป็นผู้ริเริ่มสร้างฐานลูกค้าของธนาคารด้วยการบริการให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย
กรรมการผู้จัดการท่านที่ 2 คือ ชิน โสภณพนิช ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารที่ครอบครองตำแหน่งได้นานที่สุดถึง 25 ปี (พ.ศ. 2495-พ.ศ. 2520 นายชิน โสภณพนิช เป็นบุคคลที่มีแนวคิดริเริ่มที่ให้ธนาคารขยายเครือข่ายสาขาไปยังท้องที่ที่ห่างไกลทั่วประเทศ ที่มีผลผลิตทางการเกษตรที่สมบูรณ์ จนทำให้ธนาคารเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนอุตสาหกรรมการส่งออก และต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ธนาคารได้เปลี่ยนตราสัญลักษณ์เป็นรูป ดอกบัวหลวง ซึ่งใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน - ปัจจุบัน นายชิน โสภณพนิช เสียชีวิตแล้ว
ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ธนาคารกรุงเทพได้ไปเปิดสาขาที่ต่างประเทศ แห่งแรกคือที่ ฮ่องกง ต่อมาได้ไปเปิดที่ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ต่อมาได้ไปเปิดที่ สิงคโปร์
กรรมการผู้จัดการท่านที่ 3 คือ บุญชู โรจนเสถียร เป็นผู้ที่ปรับเปลี่ยนการบริหารงานครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อให้ธนาคารมีมาตรฐานเท่าเทียมกับต่างประเทศ รวมทั้งนโยบายมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรบุคคล
กรรมการผู้จัดการท่านที่ 4 คือ ชาตรี โสภณพนิช เป็นผู้นำธนาคารกรุงเทพเข้าสู่ยุคทอง ผลประกอบการของธนาคารกรุงเทพในปี พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2535 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นถึง 12 เท่า และเป็นครั้งแรกที่ธนาคารพาณิชย์ไทยที่ทำกำไรสุทธิมากกว่า 10,000 ล้านบาท ธนาคารกรุงเทพคือบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ณ ช่วงสมัยนั้น และ เป็น 1 ใน 200 ธนาคารชั้นนำของโลก และในปี พ.ศ. 2525 ได้ย้ายสำนักงานใหญ่ของธนาคารกรุงเทพมาตั้งอยู่ที่ เลขที่ 333 ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ใช้สำนักงานแห่งนี้มาตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน
กรรมการผู้จัดการท่านที่ 5 คือ ดร.วิชิต สุรพงศ์ชัย เป็นผู้ที่มีผลงานด้านกิจการธนาคารในต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้ธนาคารกรุงเทพเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก
กรรมการผู้จัดการท่านที่ 6 คือ ชาติศิริ โสภณพนิช เป็นบุตรชายคนโตของ ชาตรี โสภณพนิช เพียงระยะเวลาแค่ 3 ปีในการบริหารตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เศรษฐกิจไทยที่รุ่งเรืองมานานถึง 30 ปี ก็ได้อวสานลง ด้วยวิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นในทวีปเอเชีย ซึ่งค่าเงินบาทลดลงอย่างมาก หลังจากที่ประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว สถาบันการเงินหลายรายไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ประสบปัญหาล้มละลาย สถาบันการเงินที่เหลือประสบปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เพราะลูกค้าหลายราย ล้วนประสบปัญหาทางการเงิน ท่ามกลางอุปสรรค์เช่นนี้ นายชาติศิริ โสภณพนิช กลับแก้ "วิกฤต" ให้เป็น "โอกาส" โดยการเสริมสร้างรากฐานทางการเงินให้แข็งแรงขึ้นอีกครั้ง

ปัจจุบัน ธนาคารกรุงเทพ เป็นธนาคารที่มีสินทรัพย์มากที่สุดในประเทศมีสินทรัพย์ทั้งหมดประมาณ 1.67 ล้านล้านบาท มีสาขาทั้งหมดกว่า 750 สาขา ตู้ ATM กว่า 4,000 เครื่อง สาขาไมโคร (Micro Branch) ที่เปิดให้บริการ 7 วัน อีกกว่า 175 สาขา มีสาขาที่ต่างประเทศทั้งหมด 19 สาขา

ที่มา : Click!

คณะกรรมการธนาคาร

1. นายชาตรี โสภณพนิช

ประธานกรรมการธนาคาร
2. นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์

ประธานกรรมการบริหาร
3. พลเรือเอกประเจตน์ ศิริเดช

กรรมการอิสระ
ประธานกรรมการตรวจสอบ
4. นายโกวิทย์ โปษยานนท์

กรรมการอิสระ
ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
5. นายสิงห์ ตังทัตสวัสดิ์

ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง
กรรมการบริหาร
6. นายเดชา ตุลานันท์

รองประธานกรรมการบริหาร
7. นายชาติศิริ โสภณพนิช

กรรมการบริหาร
กรรมการผู้จัดการใหญ่
8. นายปิติ สิทธิอำนวย

กรรมการธนาคาร
9. นายอมร จันทรสมบูรณ์

กรรมการบริหาร
กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
กรรมการบริหารความเสี่ยง
10. นายชาญ โสภณพนิช

กรรมการบริหารความเสี่ยง
11. นายคนึง ฦๅไชย

กรรมการอิสระ
กรรมการตรวจสอบ
12. หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล

กรรมการอิสระ
กรรมการตรวจสอบ
13. นายสุวรรณ แทนสถิตย์

กรรมการบริหาร
กรรมการบริหารความเสี่ยง
กรรมการรองผู้จัดการใหญ่
14. นางเกศินี วิฑูรชาติ

กรรมการอิสระ
กรรมการตรวจสอบ
15. นายพรเทพ พรประภา

กรรมการอิสระ
กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
16. นายชาญศักดิ์ เฟื่องฟู

กรรมการธนาคาร
กรรมการรองผู้จัดการใหญ่
17. นายทวีลาภ ฤทธาภิรมย์

กรรมการธนาคาร
กรรมการผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่
18. นายอภิชาติ รมยะรูป

เลขานุการบริษัท



ที่มา : Click!

นายชาติศิริ โสภณพนิช (กรรมการผู้จัดการใหญ่)

นายชาติศิริ โสภณพนิช สำเร็จการศึกษาจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้รับปริญญาโทสองสาขา คือ วิศวกรรมเคมีและบริหารธุรกิจ หลังสำเร็จการศึกษา ได้เข้าทำงานที่ธนาคารซิตี้แบงก์ นครนิวยอร์ก ระยะหนึ่ง เพื่อหาประสบการณ์ก่อนเดินทางกลับประเทศไทย และได้เริ่มต้นทำงานที่ธนาคารกรุงเทพ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 โดยมีประสบการณ์ทั้งการปฏิบัติงานและบริหารในหน่วยงานต่างๆ ของธนาคาร เช่น สำนักค้าเงินตราต่างประเทศ ฝ่ายการตลาด สายบริหารการเงิน สายวานิช
ธนกิจ และกิจการธนาคารต่างประเทศ จากนั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา

ปัจจุบัน นอกจากหน้าที่ความรับผิดชอบในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ แล้ว นายชาติศิริยังดำรงตำแหน่งกรรมการของ บริษัท โพสต์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) และ Singapore Management University
อีกด้วย

ที่มา : Click!

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ (ประธานกรรมการบริหาร)

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการบริหารของธนาคารกรุงเทพตั้งแต่เดือนมีนาคม 2551 หลังจากร่วมงานกับธนาคารกรุงเทพในตำแหน่งประธานกรรมการบริหารในปี 2542 และในตำแหน่งกรรมการบริหารในปี 2537

ก่อนหน้านั้น นายโฆสิตเคยดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ของประเทศหลายตำแหน่ง อาทิ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในด้านประวัติการรับราชการ นายโฆสิตเคยเป็นรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และยังมีประสบการณ์ทำงานระดับนานาชาติในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ ประจำธนาคารโลก ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี

นายโฆสิตสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขาการคลัง (เกียรตินิยม) จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2506 และปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ (University of Maryland) ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2508 และได้จบจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรในปี 2531

นายโฆสิตเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจากการทำงานด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในธนาคารกรุงเทพ ก็ได้จัดตั้งโครงการเกษตรก้าวหน้า เพื่อสนับสนุนเกษตรกรให้ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพผลผลิตการเกษตร นอกจากนั้น ยังได้ริเริ่มโครงการสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาธุรกิจขนาดและขนาดย่อม (SMEs)
หลายโครงการ

ที่มา : Click!

นาย ชาตรี โสภณพนิช (ประธานกรรมการธนาคาร)

นายชาตรีดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพตั้งแต่ปี 2542

นายชาตรี เกิดในประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2476 เป็นบุตรชายคนที่สองของนายชิน โสภณพนิช สำเร็จการศึกษาด้านการบัญชีชั้นสูงจาก Kwang Tai High Accountancy College ที่ฮ่องกง และได้ไปศึกษาเพิ่มเติมด้านการธนาคารจากประเทศอังกฤษที่ The Regent Street Polytechnic of London และ The Institute of Bankers รวมทั้งได้ฝึกงานที่ The Royal Bank of Scotland กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

เริ่มชีวิตการทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการบัญชีที่ บริษัท เอเชียทรัสต์ จำกัด เมื่อปี 2501 และมาร่วมงานกับธนาคารกรุงเทพในตำแหน่งเดียวกัน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2502 ขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ในปี 2523 นายชาตรี เป็นผู้สร้างความเจริญก้าวหน้าให้ธนาคารอย่างมากในช่วง 12 ปีทองของการดำรงตำแหน่ง ผลประกอบการทุกด้านของธนาคารกรุงเทพขยายตัวอย่างรวดเร็ว ด้วยนโยบาย "ธนาคารแห่งคุณภาพ" และความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยี ที่รวมถึงการเป็นผู้นำในการใช้ระบบเครือข่ายออนไลน์แห่งแรกในประเทศไทย

นายชาตรียังได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประธานสมาคมธนาคารไทย 3 สมัย ประธานสภาธนาคารอาเซียน กรรมการกลางสภาที่ปรึกษาผู้นำทางธุรกิจระหว่างประเทศของผู้ว่าการนครเซี่ยงไฮ้ และเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น ได้รับปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัย De La Salle ประเทศฟิลิปปินส์ ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัย Peperdine ประเทศสหรัฐอเมริกา และรางวัลเกียรติยศ "Lifetime Achievement Award" จาก Asia Pacific Bankers Congress (APBC)
ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์โดยอุทิศตนเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงภาคธุรกิจการธนาคาร ทำให้ธนาคารกรุงเทพเติบโตก้าวหน้าอย่างยั่งยืน และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในภูมิภาคเอเชีย

ที่มา : Click!

นโยบายการกำกับดูแลกิจการของธนาคารกรุงเทพ

ธนาคารกรุงเทพตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการสร้างความเป็นธรรมแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเสริมสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพ

ธนาคารจึงมุ่งส่งเสริมให้การดำเนินกิจการของธนาคารเป็นไปตามหลักการการกำกับดูแลกิจการที่ดี อันจะเป็นพื้นฐานของผลการดำเนินงานที่ดี ฐานะการเงินที่แข็งแกร่งและมั่นคง และการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน นโยบายการกำกับดูแลกิจการนี้จึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อแสดงถึงทิศทาง และกรอบการดำเนินการในการกำกับดูแลกิจการของธนาคารตามหลักการการกำกับดูแลกิจการที่ดี 

ความมุ่งหมายของธนาคารกรุงเทพ คือ การเป็นธนาคารที่ให้บริการด้านการเงินที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป้าหมาย มีความพร้อมด้วยบุคลากรที่มีคุณภาพ มีเทคโนโลยีและระบบงานที่ทันสมัย คงไว้ซึ่งความเป็นสากล ตลอดจนการเป็นธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคเอเชีย ดังนั้น เพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายดังกล่าว ธนาคารจึงกำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและภูมิภาค

ที่มา : Click!

โครงสร้างองค์กร

ที่มา : Click!

หลักปฏิบัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณและจริยธรรมธุรกิจของธนาคารกรุงเทพ

ธนาคารเชื่อมั่นว่าหลักปฏิบัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณและจริยธรรมธุรกิจเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเสริมสร้างและยกระดับการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นรากฐานสำคัญของความมั่นคงและการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน ตลอดจนเป็นสิ่งที่จะสนับสนุนให้ธนาคารสามารถบรรลุความมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้น ธนาคารจึงส่งเสริมให้การดำเนินธุรกิจและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องของธนาคารเป็นไปตามหลักปฏิบัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณและจริยธรรมธุรกิจนี้

ผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติ
ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามหลักปฏิบัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณและจริยธรรมธุรกิจนี้ ได้แก่ ธนาคารซึ่งรวมถึง กรรมการ
ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา ตลอดจนผู้กระทำการแทนหรือผู้ได้รับมอบหมายให้กระทำหน้าที่ในนามธนาคารหรือแทนบุคคลที่กล่าวถึงข้างต้น

หลักการพื้นฐาน
หลักการพื้นฐานของหลักปฏิบัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณและจริยธรรมธุรกิจ คือ
  1. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม และความรับผิดชอบ
  2. เก็บรักษาความลับ และไม่ใช้ข้อมูลภายในหรือข้อมูลอันเป็ความลับเพื่อแสวงหาประโยชน์แก่ตนเอง หรือ
    ผู้อื่นในทางที่มิชอบ
  3. ป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ ที่อาจนำมาซึ่งความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  4. ปฏิบัติเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่มีความรู้ ความชำนาญ และความระมัดระวังรอบคอบ

หลักปฏิบัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณและจริยธรรมธุรกิจ
ธนาคาร (ซึ่งหมายความรวมถึงผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามที่ระบุในข้อ 2 ด้วย) จะยึดมั่นในหลักปฏิบัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณและจริยธรรมธุรกิจ ดังต่อไปนี้
  1. ความซื่อสัตย์สุจริต ธนาคารพึงยึดถือและดำรงความซื่อสัตย์สุจริตเป็นหลักในการดำเนินธุรกิจ
  2. การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดธนาคารจะดำเนินธุรกิจโดยถูกต้องตามกฎหมายและข้อกำหนดของทางการ และจะไม่ให้ความ
    ช่วยเหลือ ส่งเสริมหรือสนับสนุนกิจกรรมหรือธุรกรรมใดๆ ที่มิชอบด้วยกฎหมาย
  3. การใช้ความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ความระมัดระวังและเอาใจใส่ ธนาคารพึงใช้ความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ความระมัดระวังและเอาใจใส่ในการให้บริการที่มีคุณภาพแก่ลูกค้าเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
  4. การบริหารจัดการที่ดีและการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพและรัดกุมธนาคารจะจัดให้มีระบบการบริหารจัดการและระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดี ตลอดจนระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพและรัดกุม
  5. มาตรฐานที่กำหนดสำหรับผู้ประกอบการ ธนาคารจะปฏิบัติตามมาตรฐานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของธนาคารอันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
  6. การคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย ธนาคารให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติที่ดีต่อผู้มีส่วนได้เสียต่างๆบนพื้นฐานของความร่วมมือและ
    ช่วยเหลือเกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกันอย่างเหมาะสม กล่าวคือ
    • ธนาคารพึงปฏิบัติต่อลูกค้า คู่ค้าหรือคู่แข่งขัน ด้วยความเข้าใจและความร่วมมือที่ดีระหว่างกัน
    • ธนาคารพึงเสนอบริการที่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้าด้วยมิตรภาพอันอบอุ่น และความโอบเอื้อเกื้อกูล
    • ธนาคารพึงดูแลและรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
    • ธนาคารจะส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานได้ใช้ศักยภาพ ความรู้ และความสามารถในการปฏิบัติ
      หน้าที่ของพนักงาน ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ ความรู้ และความสามารถของพนักงาน
      อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ธนาคารจะให้ความสำคัญและดูแลความปลอดภัยและสุขอนามัยใน
      สถานที่ทำงาน รวมทั้งค่าตอบแทนและสวัสดิการของพนักงานให้เหมาะสม
    • ธนาคารให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตามแนวทางและหลักความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจอัน
      เป็นที่ยอมรับว่าเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและภูมิภาค โดย
      จะสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจทางสังคมตามโอกาสอันควร ตลอดจนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อ
      การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ การพัฒนาชุมชน การศึกษา และการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่
      ประเทศชาติ
    • ธนาคารจะดำเนินธุรกิจภายใต้มาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการดำเนินกิจการของธนาคาร
      และสนับสนุนมาตรการและวิธีปฏิบัติที่ดีเพื่อการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้
      ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีส่วนร่วมในการรณรงค์หรือการสร้างความรู้ความเข้าใจ
      ในการอนุรักษ์พลังงานและการรักษาสภาพแวดล้อม
  7. การควบคุมดูแลความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ธนาคารจะควบคุมดูแลหรือป้องกันในกรณีที่เกิดหรืออาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของธนาคารอย่างเหมาะสม และจะไม่แสวงหาประโยชน์ใดๆ ที่มิชอบด้วยกฎหมาย หรือขัดต่อข้อกำหนดของทางการ
  8. การรักษาความลับของลูกค้าธนาคารจะจัดเก็บรักษา และดูแลข้อมูลอันเป็นความลับของลูกค้าอย่างรัดกุมและเหมาะสม และจะไม่
    เปิดเผยข้อมูลอันเป็นความลับนั้นแก่บุคคลอื่น เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากลูกค้า หรือเป็นการดำเนินการตามกฎหมาย
  9. การสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการกับลูกค้า ธนาคารจะสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของธนาคาร ให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
  10. การให้คำแนะนำหรือดำเนินการแทนลูกค้า ธนาคารจะใช้ความระมัดระวังอย่างสมเหตุผลในการให้คำแนะนำหรือตัดสินใจดำเนินการแทนลูกค้า โดยคำนึงถึงความเหมาะสมในกรณีของลูกค้า
  11. การดูแลเก็บรักษาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สิน ธนาคารจะจัดให้มีระบบการดูแล เก็บรักษา ปกป้องและคุ้มครองหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินใดๆ ที่ลูกค้า
    มอบหมายให้อยู่ในความดูแลของธนาคารอย่างรัดกุมและเหมาะสม
  12. การดำรงไว้ซึ่งสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ธนาคารจะดำรงไว้ซึ่งสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ให้เพียงพอตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่ทางการกำหนดเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของลูกค้า เช่น การดำรงเงินกองทุน หรือการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง เป็นต้น
  13. การรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับทางการ ธนาคารจะส่งเสริมการสร้างและรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับทางการอย่างสม่ำเสมอ เช่น การให้ความ
    ร่วมมือกับทางการตามความเหมาะสม และการปฏิบัติตามคำแนะนำของทางการ เป็นต้น
  14. การบันทึกข้อมูลและการรายงาน ธนาคารจะบันทึกข้อมูล และจัดทำรายงานให้ถูกต้องและเชื่อถือได้
  15. การให้บริการและการปฏิบัติงาน ธนาคารพึงติดตามพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า ตลอดจนทุ่มเทกำลังความสามารถในการปฏิบัติงาน
  16. การรับของขวัญหรือสิ่งตอบแทนจูงใจจากลูกค้าหรือบุคคลอื่น ธนาคารจะไม่เรียก ร้องขอ หรือรับเงิน ของขวัญหรือของรางวัล หรือสิ่งตอบแทนอื่นใดจากลูกค้าหรือบุคคลอื่น เว้นแต่เป็นการรับอันเนื่องจากการให้ตามประเพณีนิยม
  17. การทุจริตคอรัปชั่นและสินบนเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ ธนาคารต่อต้านการทุจริต และไม่จ่ายสินบนเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ รวมทั้งจะให้ความร่วมมือและ
    สนับสนุนมาตรการของรัฐและเอกชนในการต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น
  18. การดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียงอันดีงาม
    ธนาคารจะดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียงอันดีงาม และพึงละเว้นการกระทำอันจะนำความเสื่อมเสียมาสู่ธนาคาร
  19. ทรัพย์สินทางปัญญารวมทั้งลิขสิทธิ์ธนาคารเคารพและจะไม่ล่วงละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
  20. สิทธิมนุษยชน สิทธิของบุคคล และกิจกรรมภายนอกธนาคารเคารพในสิทธิของบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด และจะไม่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนใดๆ นอกจากนี้ ธนาคารจะส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมภายนอกต่างๆ ทั้งนี้ กิจกรรม
    ดังกล่าวจะต้อง
    • ไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีของธนาคาร
    • ไม่เป็นการขัดขวาง หรือเป็นอุปสรรคอย่างสำคัญต่อการอุทิศเวลาหรือการทุ่มเทความสามารถใน
       การปฏิบัติหน้าที่
    • ไม่ขัดต่อหลักปฏิบัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณและจริยธรรมธุรกิจ
    • ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และ
    • ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดี
ที่มา : Click!