ธนาคารกรุงเทพ

วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คลังเซ็นเงินกู้น้ำ3.4แสนล้านกับ4แบงก์

สบน.ลงนามเงินกู้น้ำ 3.5 แสนล้านบาทกับ 4 สถาบันการเงินเรียบร้อยแล้ว แบงก์ออมสินกวาด 50% ของวงเงิน ส่วนที่เหลือ "กรุงเทพ-กสิกรไทย-กรุงไทย"


นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สบน.ได้ดำเนินการลงนามสัญญาเงินกู้เพื่อการลงทุนบริหารจัดการน้ำตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินกับสถาบันการเงินเต็มทั้งจำนวน 3.5 แสนล้านบาทไปเรียบร้อยแล้วเมื่อวานนี้(24มิถุนายน)
ทั้งนี้ มีจำนวน 4 สถาบันการเงินที่เป็นผู้ชนะการประมูลวงเงินกู้ครั้งนี้ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารกรุงไทย โดยธนาคารออมสินเป็นผู้ชนะวงเงินในการประมูลจำนวนมากที่สุดหรือ 50% ของวงเงินกู้ ส่วนที่เหลือจะเป็น 3 สถาบันการเงินดังกล่าว สำหรับอายุของเงินกู้จะอยู่ที่ 1 ปี นับจากวันที่มีการเบิกจ่าย ส่วนอัตราดอกเบี้ยจะเฉลี่ยที่ 3.8% ต่อปี
นางสาวจุฬารัตน์ กล่าวว่า การเบิกจ่ายเงินกู้ดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับงวดงานของการลงทุน ซึ่งขณะนี้ ทางสำนักงบประมาณได้ส่งรายละเอียดให้แก่สบน.เรียบร้อยแล้ว โดยระยะแรกของการเบิกจ่ายเงินกู้นั้น จะมีจำนวนเงินไม่มากนัก แต่จะมีจำนวนที่มากขึ้นในช่วงกลางและท้ายของการลงทุน ทั้งนี้ การลงทุนและระยะเวลาการเบิกจ่ายจะอยู่ภายในปี 2561
"แต่ละสัญญาที่เราเซ็นกู้ไปนั้นจะบอกเลยว่า เราจะเบิกจ่ายในช่วงปีใด ฉะนั้น แบงก์เขาก็จะรู้เวลาและเตรียมเม็ดเงินไว้ให้เรา โดยต้นทุนเงินกู้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราได้มีการเบิกจ่ายเงิน"
ทั้งนี้ สบน.ได้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินกู้ดังกล่าวไปแล้วจำนวนประมาณ 1 หมื่นล้านบาท
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวว่า กระทรวงการคลังเองก็มีความเป็นห่วงเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินกู้ดังกล่าวที่อาจล่าช้า หรือ อาจจะไม่มีการเบิกจ่ายในบางสัญญา เพราะอาจเกิดข้อติดขัดที่ไม่สามารถดำเนินโครงการได้ ซึ่งจะส่งผลต่อเงินกู้ที่ได้ลงนามไว้ แม้ว่า ในสัญญาจะไม่ได้มีการระบุถึงค่าปรับกรณีที่ไม่มีการเบิกจ่ายเงินก็ตาม แต่ก็จะส่งผลต่อสถาบันการเงินที่ต้องเตรียมสภาพคล่องไว้สำหรับโครงการดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ทางสบน.ซึ่งมีหน้าที่ในการกำกับดูแลสัญญากู้เงินดังกล่าว จะต้องแจ้งต่อสถาบันการเงินที่ชนะการประมูลเงินกู้ดังกล่าวเป็นเวลาล่วงหน้าก่อนที่จะมีหรือไม่มีการเบิกจ่ายเงิน เพื่อให้สถาบันการเงินได้เตรียมการรองรับ
ทั้งนี้ ผู้บริหารกระทรวงการคลังได้มอบหมายให้สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง ได้ทำหน้าที่เกาะติดโครงการลงทุนดังกล่าว เพื่อให้การลงทุนและการเบิกจ่ายเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด


ที่มา : Click!

บริการรับชำระเงิน

บริการรับชำระเงิน
ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ใช้บริการรับชำระเงินของธนาคารกรุงเทพ

สะดวกสบาย
ท่านสามารถชำระค่าสินค้าและบริการผ่านธนาคารกรุงเทพให้กับร้านค้าและบริษัทต่างๆ มากกว่า 1,500 แห่ง เพียงมองหาโลโก้บัวหลวงในใบเรียกเก็บเงิน ท่านก็ชำระเงินด้วยวิธีการที่ท่านเลือกได้อย่างหลากหลาย เพื่อความสะดวกสบายสูงสุดในการจัดการค่าใช้จ่ายประจำเดือน รวมทั้งการชำระสินค้าเงินผ่อน

ธนาคารกรุงเทพรับชำระค่าสินค้าและบริการดังต่อไปนี้
·         โทรศัพท์มือถือ
·         อินเตอร์เน็ต
·         บัตรเครดิต
·         สินเชื่อ
·         หลักทรัพย์และกองทุน
·         สมาชิกนิตยสาร
·         ธุรกิจขายตรง
·         ค่าประกันภัยหรือประกันชีวิต
·         ลงทะเบียนเรียน
·         ค่าผ่อนชำระค่างวดอสังหาริมทรัพย์
·         เช่าซื้อหรือลีสซิ่ง  
·         สาธารณูปโภค
·         ภาษี
·         สินค้าและบริการอื่นๆ

บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง
ชำระเงินให้แก่ร้านค้าและบริษัทต่างๆ ได้มากกว่า 400 แห่งผ่านบริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง สมัครใช้บริการได้ที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา

ชำระค่าสาธารณูปโภค
ท่านสามารถชำระค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ได้อย่างสะดวกรวดเร็วผ่านบัวหลวงไอแบงก์กิ้ง บัวหลวงโฟน เครื่องเอทีเอ็ม เครื่องรับฝากและชำระเงินด่วน หรือที่เคาน์เตอร์สาขา นอกจากนี้ ท่านยังสามารถสมัครบริการหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติเพื่อชำระค่าใช้จ่ายได้ด้วย

ชำระค่าสาธารณูปโภคประเภทใดได้บ้าง
·         การไฟฟ้านครหลวง 
·         การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
·         การประปานครหลวง
·         การประปาส่วนภูมิภาค
·         บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
·         บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ชำระผ่านโทรศัพท์ เอทีเอ็มหรือเคาน์เตอร์ธนาคาร

หลังจากที่ท่านยื่นแบบแสดงรายการประเภทภาษี ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th แล้ว หากท่านต้องชำระภาษี (รวมถึงที่ต้องชำระเพิ่มเติม) ท่านสามารถเลือกชำระภาษีผ่านบัวหลวงโฟน โทร. 1333  หรือเอทีเอ็ม หรือสาขาธนาคารกรุงเทพใกล้ท่าน

เมื่อทำรายการเรียบร้อยแล้ว ท่านจะได้รับใบบันทึกรายการโอนเงินชำระภาษีเป็นหลักฐาน ส่วนใบเสร็จรับเงิน กรมสรรพากรจะจัดส่งให้ท่านทางไปรษณีย์

ชำระผ่านบัวหลวงไอแบงก์กิ้ง

สำหรับสมาชิกบัวหลวงไอแบงก์กิ้ง เมื่อท่านยื่นแบบแสดงรายการผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากรแล้ว เลือกวิธีการชำระเงินภาษีแบบ "e-Payment" ระบบจะเชื่อมต่อไปหน้าบัวหลวงไอแบงก์กิ้ง พร้อมแสดงจำนวนเงินภาษีที่ท่านต้องชำระโดยอัตโนมัติ

อย่าลืม...ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 90/ภ.ง.ด.91) ก่อนวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี และชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด. 94) ภายในวันที่ 30 กันยายนของทุกปี


ชำระภาษีรถ
เพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็ว ทันใจ ให้กับเจ้าของรถเก๋ง รถตู้ รถปิกอัพ และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนในทุกจังหวัดทั่วประเทศ เจ้าของรถสามารถยื่นความจำนงขอใช้บริการกับธนาคาร หรือสมัครเข้าใช้บริการได้ที่เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก www.dlte-serv.in.th หรือ www.dlt.go.th โดยปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบบกำหนดไว้

ท่านสามารถชำระภาษีรถผ่านช่องทางต่างๆ ของธนาคารกรุงเทพตามที่ท่านสะดวกไม่ว่าจะเป็น
·         บริการหักบัญชีเงินฝากธนาคาร
·         ชำระด้วยบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพทุกประเภท
·         ชำระผ่านเครื่องเอทีเอ็ม
·         ชำระผ่านธนาคารทางอินเทอร์เน็ต บัวหลวงไอแบงก์กิ้ง
·         หรือพิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีและนำไปชำระ ณ เคาน์เตอร์ธนาคาร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บัวหลวงโฟน โทร. 1333 หรือ ติดต่อกรมการขนส่งทางบก โทร. (66)
0-2272-5498

วิธีชำระค่าสินค้าและบริการผ่านบัวหลวงโฟน
1. ก่อนการชำระเงิน โปรดเตรียมสิ่งต่อไปนี้
o    ใบแจ้งหนี้ โดยตรวจสอบว่าท่านสามารถชำระเงินค่าสินค้าและบริการผ่านบัวหลวงโฟนได้หรือไม่ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่ใช่การชำระเงินหลังวันที่กำหนด และเตรียมหมายเลขสมาชิก หมายเลข
อ้างอิง หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของบริษัท หรือเลขรหัสบริษัท 5 หลัก (Company Code) และจำนวนเงินที่ต้องชำระที่ถูกระบุไว้อยู่ในใบแจ้งหนี้
o    เตรียมบัตรบัวหลวงเอทีเอ็ม บัตรบัวหลวงพรีเมียร์ หรือบัตรเดบิตบีเฟิสต์ ไว้สำหรับแจ้งหมายเลขบัตรและรหัสส่วนตัว (PIN)
2. ติดต่อบัวหลวงโฟน โทร.1333 หรือ (66) 0-2645-5555 เลือกรับฟังคำแนะนำวิธีชำระเงินได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
3. กดหมายเลขบัตรและรหัสส่วนตัวของท่าน
4. กด 1 เพื่อทำรายการชำระเงินด้วยตนเอง
5. กดหมายเลขอ้างอิง หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของบริษัท หรือเลขรหัสบริษัท 5 หลัก (Company Code) และจำนวนเงินที่ต้องการชำระ หรือแจ้งข้อมูลดังกล่าวกับเจ้าหน้าที่
6. ระบบจะทวนข้อมูลและขอให้ท่านยืนยันความถูกต้อง
7. ธนาคารจะหักเงินในบัญชีของท่านเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการให้กับร้านค้า บริษัท หรือรัฐวิสาหกิจที่มี
ข้อตกลงกับทางธนาคาร
8. หลังจากทำรายการแล้ว ระบบจะแจ้งยอดเงินคงเหลือในบัญชีให้ท่านทราบ

ท่านสามารถชำระค่าสินค้าและบริการต่อไปนี้ผ่านเครื่องเอทีเอ็ม
·         โทรศัพท์มือถือ
·         อินเตอร์เน็ต
·         บัตรเครดิต
·         สินเชื่อและเงินทุน
·         หลักทรัพย์และกองทุน
·         สมาชิกนิตยสารรายเดือน
·         ธุรกิจขายตรง
·         ประกันภัยและประกันชีวิต
·         ลงทะเบียนเรียน
·         ผ่อนชำระสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์
·         เช่าซื้อและลีสซิ่ง
·         สาธารณูปโภค
·         ภาษี
·         สินค้าและบริการ


วิธีชำระค่าสินค้าและบริการผ่านเครื่องบัวหลวงเอทีเอ็ม
1. ก่อนการชำระเงิน โปรดเตรียมสิ่งต่อไปนี้
o    เตรียมใบแจ้งหนี้ โดยตรวจสอบว่าท่านสามารถชำระเงินค่าสินค้าและบริการผ่านบัวหลวงโฟนได้
หรือไม่ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่ใช่การชำระเงินหลังวันที่กำหนด และเตรียมหมายเลขสมาชิก
หมายเลขอ้างอิง หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของบริษัท หรือเลขรหัสบริษัท 5 หลัก (Company Code) และจำนวนเงินที่ต้องชำระที่ถูกระบุไว้อยู่ในใบแจ้งหนี้
o    เตรียมบัตรบัวหลวงเอทีเอ็ม บัตรบัวหลวงพรีเมียร์ หรือบัตรเดบิตบีเฟิสต์ ไว้สำหรับแจ้งหมายเลขบัตรและรหัสส่วนตัว (PIN)
2. เลือกเมนู 'บริการชำระเงิน' และทำตามขั้นตอนที่ปรากฏบนหน้าจอ และธนาคารจะออกใบบันทึกรายการชำระเงินให้ท่านเก็บเป็นหลักฐานหลังจากที่ท่านทำรายการเสร็จเรียบร้อยแล้ว

หักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ

      สาขาธนาคาร
สมัครใช้บริการหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ ได้ไม่ยุ่งยาก เพื่อช่วยท่านประหยัดเวลาให้กับชีวิต เพียงนำสำเนาใบแจ้งหนี้หรือใบเสร็จรับเงิน และสมุดบัญชีเงินฝากกับธนาคารกรุงเทพที่ท่านต้องการให้หักบัญชีมาที่สาขา และกรอกหนังสือยินยอมให้หักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ (ไม่มีค่าธรรมเนียมการสมัคร)
  • รับแบบฟอร์มใบสมัครบริการหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติได้ที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา หรือที่ร้านค้า บริษัทที่มีข้อตกลงกับธนาคาร*
  • กรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มยินยอมให้หักบัญชีเงินฝากเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ พร้อมแนบใบแจ้งค่าใช้จ่าย/ค่าใช้บริการของเดือนที่ผ่านมา
  • ยื่นแบบฟอร์มได้ที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา ทางไปรษณีย์ หรือ ณ ร้านค้าที่มีข้อตกลงกับธนาคาร



               *กรณีชำระค่าสาธารณูปโภค โปรดใช้แบบฟอร์มหนังสือยินยอมของแต่ละองค์กรสาธารณูปโภค


บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง


อีกหนึ่งทางเลือกให้ท่านสามารถทำรายการได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาติดต่อที่สาขาธนาคาร สมัครผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ฟรี! ไม่มีค่าธรรมเนียมในการสมัคร เพียงคลิก 'สมัครบริการหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ' ในเมนู 'ชำระเงิน' โดยในการทำรายการแต่ละครั้ง จะต้องใช้รหัสผ่าน
ครั้งเดียว (One Time Password - OTP) ซึ่งธนาคารจะส่งไปยังโทรศัพท์มือถือของท่านตามหมายเลข
ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับธนาคาร

ทั้งนี้ท่านสามารถติดต่อบริษัทผู้รับชำระ เพื่อสอบถามรายละเอียดรอบบิลที่ธนาคารจะเริ่มดำเนินการหักบัญชีเงินฝากของท่าน หรือตรวจสอบจากข้อความในใบแจ้งหนี้ที่ท่านได้รับจากบริษัทผู้รับชำระได้
เช่นกัน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่

เครื่องเอทีเอ็มธนาคารกรุงเทพ

ท่านสามารถสมัครใช้บริการหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมงเพียงใช้บัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิตบีเฟิสต์ในการสมัครที่เครื่องเอทีเอ็มธนาคารกรุงเทพ ทั่วประเทศ

ขั้นตอนการสมัครที่เครื่องเอทีเอ็ม
  1. สอดบัตรเอทีเอ็ม หรือบัตรเดบิตบีเฟิสต์ และกดรหัสลับส่วนตัว
  2. เลือก สมัครบริการจากหน้าจอเมนูหลัก
  3. เลือกประเภทบริการ บริการหักบัญชีอัตโนมัติ
  4. อ่านข้อตกลงการใช้บริการหักบัญชีอัตโนมัติจากนั้น กดปุ่ม ยอมรับ
  5. เลือก ประเภทบัญชี” (บัญชีสะสมทรัพย์ / บัญชีกระแสรายวัน)
  6. เลือก บัญชีที่ต้องการ
  7. เลือก วิธีค้นหาบริษัทผู้รับชำระ
  8. เลือก ประเภทธุรกิจของบริษัทที่จะชำระ
  9. เลือก บริษัทที่จะชำระจากนั้นให้ระบุข้อมูลตามลำดับในหน้าถัดไปจนครบ
  10. เมื่อทำรายการตามขั้นตอนแล้ว ระบบจะแสดงหน้าจอยืนยันการสมัครใช้บริการให้ตรวจสอบโปรดกดปุ่ม ยืนยันเพื่อทำการสมัครใช้บริการ
  11. เมื่อท่านทำรายการเรียบร้อยแล้ว ท่านจะได้รับใบบันทึกรายการจากเครื่องเอทีเอ็มเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานท่านที่เป็นเจ้าของบัญชีจะได้รับจดหมายแจ้งผลการสมัครใช้บริการทางไปรษณีย์


      ค่าสินค้าและบริการที่ท่านสามารถชำระผ่านบริการหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ
·         ค่าบริการรายเดือนโทรศัพท์มือถือ
·         ชำระค่าสินค้า เครื่องสำอางขายตรง
·         ผ่อนชำระสินเชื่อบุคคล
·         ชำระค่าบัตรเครดิตต่างๆ 
·         ค่าเบี้ยประกันชีวิต
·         ค่าสมาชิกต่างๆ
·         ค่าซื้อขายกองทุนและเงินลงทุน
·         ค่าสาธารณูปโภค เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์
·         ค่าสินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าอื่นๆ อีกมากมาย


ท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อร้านค้าบริษัทได้ที่นี่ http://www.bangkokbank.com/BangkokBankThai/Documents/Site%20Images/other%20sizes/PDF_Icon.PNG